วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2562

ขนมไทยภาคใต้

              ขนมไทยภาคใต้


       ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น
ตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่
 ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
 ขนมหน้าไข่
ที่มา ://sites.google.com/site/khanomthai4person/khnm-thiy-phakh-ti
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=VE4YNpSsa1w

 ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
ขนมจู้จุน
ที่มา ://sites.google.com/site/khanomthai4person/khnm-thiy-phakh-ti
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=fvBBvHtvImg


 ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
 ขนมกอและห์
ที่มา  ://sites.google.com/site/khanomthai4person/khnm-thiy-phakh-ti

 ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
ขนมก้านบัว

ที่มา  ://sites.google.com/site/khanomthai4person/khnm-thiy-phakh-ti

 ขนมดาดา
เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ใช้ในโอกาสเดียวกับฆานม ประกอบด้วยข้าวเจ้า ข้าวเหนียวผสมน้ำบดให้ละเอียด นำไปละเลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ พับให้เป็นแผ่น กินกับน้ำตาลเหลว
 ขนมปะดา (ปาดา) 
ที่มา ://www.hatyaifocus.com


 ขนมต้มใบกะพ้อ ขนมต้มลูกโยน ห่อด้วยใบกะพ้อ ทำในเทศกาลบุญชักพระ และงานประเพณีหลาย ๆ งาน
ขนมต้มใบกะพ้อ
                                                 ที่มา :   https://www.hatyaifocus.com

ขนมเจาะหู (หนมเจาะหู้) เป็นโดนัทของเทศกาลชิงเปรต ตอนเด็กๆไม่ค่อยนึกพิศวาส เพราะเป็นขนมพื้นๆ ไม่โก้ แต่พอไกลบ้าน และเมื่ออายุเยอะขึ้นกลับคิดถึงขนมเจาะหูมากๆ

                                                            ขนมเจาะหู

                                                         ที่มา :    https://www.hatyaifocus.com
 ขนมโค ขนมอร่อยในวัยเด็ก ด้วยสีสันที่ฉูดฉาดชวนรับประทาน ทำจากแป้งคลุกมะพร้าว คล้ายขนมต้มภาคกลาง แต่ข้างในเป็นน้ำตาลแว่น

                                                              ขนมโค

ที่มา :  https://www.hatyaifocus.com

ขนมหวานภาคอีสาน

ขนมหวานภาคอีสาน



       เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง)

     ข้าวโป่งหรือข้าวเกรียบว่าว  เป็นขนมพื้นบ้านภาคอีสาน นิยมในฤดูหนาวหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว การทำเริ่มจากนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วไปตำด้วยครกมอง เมื่อละเอียดแล้วจะเอาใบตดหมูตดหมา หรือย่านพาโหมขยี้กับน้ำแล้วสลัดใส่ครก เพื่อให้ข้าวเหนียวจับตัวกันดี นำน้ำอ้อยโขลกแล้วตำผสมลงในครกจนเหนียวได้ที่ นำน้ำมันหมูทามือแล้วปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนผสมกับไข่แดง กดก้อนข้าวเหนียวที่ปั้นให้เป็นแผ่นบางๆ แล้ววางบนใบตองที่ทาน้ำมันหมูแล้ว ตากแดดให้แห้ง เมื่อจะรับประทานจึงเอามาปิ้งให้สุก


  ข้าวโป่งหรือข้าวเกรียบว่าว 
untitled
ที่มา : https://candytuppt.wordpress.com/ภาคอีสาน/
                                                          ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=pSMGxl-fbio

           ข้าวต้มมัดหรอข้าวต้มผัด เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือ ซูมัน ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย

ข้าวต้มมัดหรอข้าวต้มผัด
untitled5532
ที่มา : https://candytuppt.wordpress.com/ภาคอีสาน/


ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=BUbJG4AabKs


          ข้าวจี่ เป็นขนมพื้นบ้านของภาคอีสาน ทำจากข้าวเหนียวนึ่งทาเกลือปั้นเป็นรูปกลมหรือรีเสียบไม้นำไปย่างบนเตาถ่าน ไฟอ่อนพอเกรียมนำมาชุบไข่ แล้วนำไปย่างใหม่จนเหลือง ดึงไม้ที่เสียบไว้ออก ยัดน้ำตาลอ้อยเข้าไปแทน น้ำตาลจะละลายเป็นไส้ และนิยมทำกันมากในช่วงเดือนสามของทุกปี ซึ่งจะมีการทำข้าวจี่ไปทำบุญในงานประเพณีบุญข้าวจี่อาจเป็นเพราะข้าวเหนียวจะเสียเร็วในตอนกลางวัน สมัยก่อนข้าวเหนียวจึงถูกทำเป็นข้าวจี่แล้วห่อใบตองไปกินเป็นอาหารตอนทำนาหรือเดินทางไกล เพราะสามารถเก็บได้นานขึ้น 


ข้าวจี่
imagesCAG94A0P

                                                         ที่มา : https://candytuppt.wordpress.com/ภาคอีสาน/

                                                      ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=mDVMDFVJNGs

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562

ขนมหวานในภาคกลาง

ขนมหวานในภาคกลาง


       ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูน และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น


                                                                  ข้าวเหนียวมูล
ที่มา : https://sites.google.com/site/khanomthai4person/khnm-thiy-phakh
 ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=QL6ED1LCDR8

ส่วนผสม
1. ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
2. หัวกะทิ 450 กรัม
3. เกลือป่น 3/4 ช้อนชา
4. น้ำตาลทราย 550 กรัม
5. ใบเตย 3-5 ใบ
6. ถั่วทอง 5 ช้อนโต๊ะ
7. น้ำใบเตย, น้ำแครอท, น้ำดอกอัญชัญหรือสีผสมอาหารตามชอบ
วิธีทำ
1. นำข้าวเหนียวไปล้างทำความสะอาดและแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำไปสะเด็ดน้ำ (กรณีต้องการทำข้าเหนียวที่มีสีต่างๆ ก็ให้ใส่สีลงไปในน้ำที่แช่ค้างคืนไว้ด้วย)
2. นำผ้าขาวบางรองไว้ในซึ้งหรือหม้อนึ่ง แล้วจึงนำข้างเหนียววางลงบนผ้าขาวบาง จากนั้นนำไปนึ่งจนข้าว  เหนียวสุก
 3. ในหม้อขนาดเล็ก ใส่น้ำตาล, เกลือป่น (3/4 ช้อนชา) และหัวกะทิ และนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี จากนั้นจึงใส่ใบเตยลงไป ทิ้งไว้สักพักจึงปิดไฟ
4. ในชามขนาดกลาง ใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งไว้จนสุกดีแล้วลงไป จากนั้นจึงใส่น้ำกะทิที่เคี่ยวไว้ในขั้นตอนที่สามตามลงไป คนจนส่วนผสมเข้ากันทั่ว และทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที ก็สามารถนำไปเสริฟได้ (เวลาเสริฟอาจโรยหน้าด้วยถั่วทอง)
 ขนมหม้อแกง
ที่มา : https://sites.google.com/site/khanomthai4person/khnm-thiy-phakh
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=dabz6gMKKoY
ส่วนผสม
1. เผือกนึ่งสุกหรือถั่วเขียวผ่าซีกนึ่งแล้วบดให้ละเอียด 1 ถ้วยตวง
2. ไข่เป็ด 5 ฟอง
3. มะพร้าวขูด 1 1/2 ถ้วยตวง
4. น้ำตาลปีบ 1/2 ถ้วยตวง
5. หอมเจียวสีเหลือง
6. น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันพืช
วิธีทำ 
1.นึ่งเผือกทั้งเปลือกหรือถั่วเขียวผ่าซีกให้สุกปอกเปลือกเผือก แล้วบดให้ละเอียดอย่าให้เป็นเม็ด
2.ผสมไข่ น้ำตาล มะพร้าว ให้เข้ากัน กรองด้วยผ้าขาวบาง
3.ผสมเผือกหรือถั่วเขียวกับน้ำกะทิ ในข้อ 2 ค่อย ๆ ผสมทีละน้อย จนเผือกหรือถั่วเขียวละลายเข้าเป็นเนื้อ เดียวกัน เอาขึ้นตั้งไฟกลาง ๆ คนพอขนมข้นและแข็งตัว
4.ทาน้ำมันในถาดสำหรับปิ้งแล้วนำขนมใส่ลงในถาด นำเข้าเตาอบหรือผิงไฟล่าง ไฟบน แล้วแต่สะดวก


ขนมลูกชุบ
ที่มา : https://sites.google.com/site/khanomthai4person/khnm-thiy-phakh
ส่วนผสม
  • ถั่วเขียวนึ่งสุกบดละเอียด 1 กิโลกรัม, น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง, หัวกะทิ (มะพร้าว 400 กรัม) 1 ถ้วยตวง, สีผสมอาหารสีต่างๆ
ส่วนที่ชุบ
  • วุ้นผง 1 1/2 ช้อนโต๊ะ, น้ำ 2 1 /2 ถ้วยตวง, น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
  วิธีทำ
  1. ผสมถั่วบด น้ำตาลทราย กะทิ เข้าด้วยกัน ยกขึ้นตั้งไฟ
  2. กวนด้วยไฟอ่อนๆ จนล่อนจับกันไม่ติดกระทะ
  3. พักถั่วกวนไว้ให้เย็น นำมาปั้นเป็นรูปผลไม้ต่างๆตามต้องการ เสียบไม้ไว้
  4. ใช้พู่กันจุ่มสีระบายลงบนขนมที่ปั้น โดยระบายเลียนแบบของจริง ทิ้งไว้ให้แห้งจึงนำไปชุบวุ้น
  5. ผสมวุ้นกับน้ำยกขึ้นตั้งไฟ ให้ละลายก่อนจึงใส่น้ำตาลทราย เคี่ยววุ้นจนข้น
  6. เอาขนมที่ปั้นแล้วเสียบไม้ ลงชุบวุ้นครั้งเดียวให้ทั่ว ทิ้งไว้จนแห้งแล้วชุบอีก ทำเช่นนี้ประมาณ 3- 4 ครั้ง จะชุบแต่ละครั้งต้องให้เย็น วุ้นแข็งตัวก่อนทุกครั้ง
  7. เมื่อวุ้นแข็งจึงเอาไม้เสียบออก ตกแต่งด้วยก้านและใบให้สวยงาม

 ข้าวตังหน้าตั้ง
ที่มา : https://sites.google.com/site/khanomthai4person/khnm-thiy-phakh
ส่วนผสม1.ข้าวตัง     1/2 กก.
2.น้ำมันสำหรับทอด
ส่วนผสมน้ำจิ้ม1.เนื้อหมูสับละเอียด    1 ถ้วย
2.กุ้งสับละเอียด    1 ถ้วย
3.กระเทียมซอย    1/2 ถ้วย
4.หอมแดงซอย     1/2 ถ้วย
5.กะทิ      2 ถ้วย
6.น้ำปลา    2 ช้อนโต๊ะ
7.น้ำมะขาม      1 ช้อนโต๊ะ
8.น้ำตาลปี๊บ       2 ช้อนโต๊ะ
9.
น้ำมันน้ำพริกเผา   1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ1. นำข้าวตัง ทอดกับน้ำมันจนสุกกรอบ พักให้สะเด็ดน้ำมัน
2. นำกะทิตั้งไฟพอเดือดแล้วเคี่ยวให้แตกมันเล็กน้อย แล้วใส่เนื้อสัตว์ ผัดพอสุก
3. ใส่ส่วนผสมอื่นๆ ลงตามปรุงรส รสชาติจะออกเปรี้ยว หวาน เค็ม
4. จากนั้นจึงแต่งหน้าด้วยน้ำมันพริกเผาเล็กน้อย ทอดข้าวตังให้สุกเหลืองกรอบ เสิร์ฟคู่กัน


ขนมฝอยทอง
ที่มา : https://sites.google.com/site/khanomthai4person/khnm-thiy-phakh
ส่วนผสม
1.น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม  
2. ไข่เป็ด 15 ฟอง  
3. น้ำดอกไม้สด 6 ถ้วยตวง  
วิธีทำ
1.ล้างไข่ให้สะอาด เช็ดให้แห้ง
2.ต่อยไข่ใส่ภาชนะ เอาแต่ไข่แดง ตีให้แตก
3.กระทะทองตั้งไฟ ผสมน้ำดอกไม้สด น้ำตาลละลาย น้ำดอกไม้สด กรองให้สะอาด เคี่ยวต่อไปจนน้ำตาลแดง
4.ตักไข่แดงใส่กรวย โรยลงในกระทะน้ำเชื่อมกะดูว่าไข่สุก  ใช้ไม้เล็กช้อนขึ้นวางในภาชนะ ทำให้เป็นจับตามต้องการ 

ของหวานไทยในภาคเหนือ

ของหวานไทยในภาคเหนือ

 ขนมไทยภาคเหนือ 
   ขนมไทยภาคเหนือ ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
   ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้ หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด 

ขนมไทยประจำจังหวัดภาคเหนือ


1.จังหวัดเชียงราย ข้าวเกรียบสับปะรดนางแล ข้าวเกรียบสับปะรด เนื่องจากประชาชนประกอบอาชีพทำสวนสับปะรดพันธุ์นางแลจึงได้มีความคิดทำสับปะรดพันธุ์นางแลที่มีอยู่มาทำเป็นข้าวเกรียบเพื่อส่งเสริมให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีทํา ข้าวเกรียบสับปะรดนางแล
ที่มา : https://sites.google.com/site/thaidessert14/dessert

2.จังหวัดเชียงใหม่ กาละแม กาละแม เป็นสินค้าดั้งเดิมที่มีผู้ผลิตโดยทั่วไป เพื่อใช้รับประทานในเทศกาลต่างๆ และสามารถเก็บไว้ได้นาน และใช้เป็นของฝากของขวัญสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากจังหวัดเชียงใหม่

ที่มา : https://puechkaset.com

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=GGLtSd-NjM0
3.จังหวัดน่าน ข้าวแต๋นสมุนไพร ข้าวแต๋นสมุนไพร กลุ่มชาวบ้านได้รวบรวมเอาบุคลากรรุ่นหลาน เหลน เข้ามาร่วมกันผลิตข้าวแตน เพื่อให้เป็นสินค้าของชุมชนที่จะร่วมกันรักษาไว้ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของพรรพบุรุษ ซึ่งข้าวแตนมีชื่อเสียงในด้านความอร่อย กรอบ หวาน สามารถเป็นของฝากและของที่ระลึกของจังหวัดน่าน
ข้าวแตนแต่งหน้าสมุนไพร  ทำง่าย....กินสะดวก
ที่มา : https://www.thairath.co.th/content/90210
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=b3icUaNJcx0
4.จังหวัดแพร่ ขนมครก ขนมครก มีรสชาติ หอม หวาน มัน อร่อย เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า เหมาะสำหรับรับประทานระหว่างทางจึงทำให้ขายดีมากซึงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปสำหรับนักท่องเที่ยว หรือนักเดินทางผ่านจังหวัดน่าน

ที่มา ://food.mthai.com/dessert/121389.html
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=BP0QpCZNxXE

5.จังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมงา ขนมงา เดิมชาวแม่ฮ่องสอนทำขนมงาในฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม เป็นช่วงที่มีการทำน้ำอ้อยเพื่อเก็บไว้ได้ตลอดทั้งปี โดยนำมากวนในน้ำอ้อย เรียกว่า งาโหย่า ต่อมาได้นำงามาปรับปรุงวิธีการผลิตทั้งส่วนผสม รสชาติ และลักษณะ รูปร่าง ให้ได้รสชาติที่คนส่วนใหญ่นิยม
ที่มา :  https://pantip.com/topic/37413162
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=d9M1xARwzuw


ขนมไทยภาคใต้

              ขนมไทยภาคใต้        ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา...